วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

บันทึกการเรียน

   จาการแปลข่าวในคราวนี้ ทำให้ได้ใจความว่าในยุคปัจจุบันนักออกแบบต้องทำงานโดยการสร้าง อัตลักษณ์มากขึ้นเฉกเช่นการสร้างงานศิลปะอย่างศิลปิน เพื่อให้เกิดความแตกต่างมากขึ้น กับคนทำงานปริ้นทั่วไป และควรยกตัวอย่างหรือวิธีการนำไปใช้งานด้วย เพื่อบ่งบอกว่า งานที่ทำนั้นทำหน้าที่สื่อสารในลักษณะหรือแนวทางใด เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้ เป็นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี

   ตัวอักษรที่สร้างขึ้นมาโดยที่ไม่ได้ทำให้เป็น ฟอนต์ เราเรียกว่า เลทเทอร์ริง (Lettering) ฉะนั้น ฟอนต์ หมายถึงชุดตัวอักษรที่มีรูปลักษณ์เดียวกัน รวมเป็นชุดเรียกว่า กริพห์ (Glyph) จัดเรียงอยู่บนแป้นพิมพ์ เพื่อให้สามรถนำไปใช้ในงานต่างได้ การใช้ตัวอักษรในงานกราฟิกเป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อช่วยในการให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นจากการสร้าสื่อ ของผู้สร้างงาน เพื่อให้เกิดความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกัน

ฟอนต์ทริค

   ในหน้าเว็ปของ กูเกิ้ล การจะเปลี่ยนการแสดงผลของชุดภาษานั้นสามารถเปลี่ยนได้โดยการ คลิกที่มุมขวาบนของหน้าจอ ที่แถบรูปสามขีดที่ชื่อว่า Customize and Google Chrome และ  More Tools และ Encoding   ในขั้นตอนนี้จะเห็ฯได้ว่า ภ.ไทย ของเรานั้นมีรหัสโค้ดที่ชื่อว่า UTF-8


ขั้นตอนการเช็ค Encoding ของ Google

ฟอนต์เวิร์ค

- ทำฟอนต์ลายมือ1ชุด ลงใน Fontlab
- นำเสนอสินค้าตัวอย่างที่จะขายในงาน กิ้ฟต์ ออน เดอะ มูน (เริ่มประมาณต้นเดือนเมษา59) นำเสนอประมาณ 3 ไอเดีย ลงบนมูดบอร์ดในสวยงาม

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

   การใช้งานโปรแกรมฟอนต์แลบนั้นเริ่มแรกด้วยการเปิดโปรแกรมแล้วตามด้วยการ import ฟอนต์เข้ามาในงานนี้เราจะใช้ฟอนต์ CRU Lanchand56 ของท่าน อ.ประชิด ในการทำงานหลังจากนั้นก็เริ่มนำฟอนต์ที่เราทำเตรียมมาเปลี่ยนและแทนที่ในตารางฟอนต์ (Glyph) เพื่อให้ได้ตำแหน่งและขนาดที่ถุกต้องเราจุงต้องมีชุดฟอนต์มาตรฐาน เเพื่อเทียบเคียงให้ถูกต้องมากที่สุด


เมื่อเปิดโปรแกรมและเปิดชุดฟอนต์เข้ามาแล้ว ให้เลือกตัวอักษรในช่องที่เราต้องการ


จากนั้นก็กลับมาที่เลือกตัวอักษรที่จะนำไปเปลี่ยนแทนที่ แล้วกด Ctrl+C เพื่อcopy


และกด Ctrl+V เพื่อวางในช่องตัวอักษรนั้น ขยับขยาย และปรับให้ขนาดใกล้เคียงตัวเก่าให้มากที่สุด


แทนที่ในตำแหน่งเดิมทำตามขั้นตอนนี่้ไปเรื่อยๆจนครบทุกตัวอักษรตามชุดที่ทำมา
ปล.อย่าลืม SAVE เป็นระยะๆเพื่อความปลอดภัยของงาน

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 03

บันทึกการเรียน

การแปลสรุปข่าวนั้นควรให้ได้ประโยชน์และความรู้ของการออกแบบ (Design) และการก็อปปี้หรือคัดลอกข้อความตัวอักษรมาจัดวางในบล็อกหรือเว็ปไซด์ของเรานั้น ควรใช้เครื่อมือชุดคำสั่ง ล้างรูปแบบ เพื่อล้างโค้ดต่างๆที่ติดมากับชุด ตัวอักษรที่เราคัดลอกมาใช้งาน เพื่อความสะดวกในการจัดวาง ตามรูปแบบตามต้องการ


อาจารย์เริ่มเกรินถึงการเตรียมงาน สำหรับงานประจำปี (Gift on The Moon) 

วิธีการเปลี่ยน ชุดตัวอักษร จากไฟล์ภาพรูปภาพ (สแกนหรือภาพถ่าย) ให้เป็นไฟล์ เวคเตอร์ ในโปรแกรมอิลาสเตเตอร์ 
1.หลังจากที่เปิดโปรแกรมและตั้งค่าหน้ากระดาษตามขนาดที่ต้องการ
2.คลิกที่เลเยอส์ที่ต้องการเปลี่ยน
3.เลือกคำสั้ง Image Trace
4. เลือกค่า Default เป็น 16 Colors
5.จากนั้น รอการประมวลผลจากซอฟแวร์
6.จากนั้น เลือกคำสั้ง Expand เพื่อให้เกิดการเป็ด เว็คเตอร์ อย่างแท้จริงจากการเกิด โหนดจับตามส่วนต่างๆของเว็คเตอร์
7.หลังจากนั้นเลือกคำสั้ง Ungroup เพื่อยกเลิกการจับกลุ่มกันของไฟล์
8.ลบส่วนที่ไม่ต้องการออก
9.ปรับปรุง ตัวที่เพี้ยนผิดไปจาก การใช้ชุดคำสั้ง และจัดเรียงให้สวยงาม
10. สร้างตาราง กริดขึ้นมา(คีย์ลัด Ctrl+R) เพื่อใช้เป็นตารางเพื่อใช้ในการจัดเรียง

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

ปฐมนิเทศ


รายละเอียดวิชา

ARTD2304 Lettering Design 
การออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์
คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หลักสูตร สาขาวิชาศิลปกรรม
หน่วยกิต 3 (2-2-5)

อาจารย์: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร