วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

บันทึกการเรียน

   จาการแปลข่าวในคราวนี้ ทำให้ได้ใจความว่าในยุคปัจจุบันนักออกแบบต้องทำงานโดยการสร้าง อัตลักษณ์มากขึ้นเฉกเช่นการสร้างงานศิลปะอย่างศิลปิน เพื่อให้เกิดความแตกต่างมากขึ้น กับคนทำงานปริ้นทั่วไป และควรยกตัวอย่างหรือวิธีการนำไปใช้งานด้วย เพื่อบ่งบอกว่า งานที่ทำนั้นทำหน้าที่สื่อสารในลักษณะหรือแนวทางใด เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้ เป็นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี

   ตัวอักษรที่สร้างขึ้นมาโดยที่ไม่ได้ทำให้เป็น ฟอนต์ เราเรียกว่า เลทเทอร์ริง (Lettering) ฉะนั้น ฟอนต์ หมายถึงชุดตัวอักษรที่มีรูปลักษณ์เดียวกัน รวมเป็นชุดเรียกว่า กริพห์ (Glyph) จัดเรียงอยู่บนแป้นพิมพ์ เพื่อให้สามรถนำไปใช้ในงานต่างได้ การใช้ตัวอักษรในงานกราฟิกเป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อช่วยในการให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นจากการสร้าสื่อ ของผู้สร้างงาน เพื่อให้เกิดความชัดเจนและความเข้าใจที่ตรงกัน

ฟอนต์ทริค

   ในหน้าเว็ปของ กูเกิ้ล การจะเปลี่ยนการแสดงผลของชุดภาษานั้นสามารถเปลี่ยนได้โดยการ คลิกที่มุมขวาบนของหน้าจอ ที่แถบรูปสามขีดที่ชื่อว่า Customize and Google Chrome และ  More Tools และ Encoding   ในขั้นตอนนี้จะเห็ฯได้ว่า ภ.ไทย ของเรานั้นมีรหัสโค้ดที่ชื่อว่า UTF-8


ขั้นตอนการเช็ค Encoding ของ Google

ฟอนต์เวิร์ค

- ทำฟอนต์ลายมือ1ชุด ลงใน Fontlab
- นำเสนอสินค้าตัวอย่างที่จะขายในงาน กิ้ฟต์ ออน เดอะ มูน (เริ่มประมาณต้นเดือนเมษา59) นำเสนอประมาณ 3 ไอเดีย ลงบนมูดบอร์ดในสวยงาม

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

   การใช้งานโปรแกรมฟอนต์แลบนั้นเริ่มแรกด้วยการเปิดโปรแกรมแล้วตามด้วยการ import ฟอนต์เข้ามาในงานนี้เราจะใช้ฟอนต์ CRU Lanchand56 ของท่าน อ.ประชิด ในการทำงานหลังจากนั้นก็เริ่มนำฟอนต์ที่เราทำเตรียมมาเปลี่ยนและแทนที่ในตารางฟอนต์ (Glyph) เพื่อให้ได้ตำแหน่งและขนาดที่ถุกต้องเราจุงต้องมีชุดฟอนต์มาตรฐาน เเพื่อเทียบเคียงให้ถูกต้องมากที่สุด


เมื่อเปิดโปรแกรมและเปิดชุดฟอนต์เข้ามาแล้ว ให้เลือกตัวอักษรในช่องที่เราต้องการ


จากนั้นก็กลับมาที่เลือกตัวอักษรที่จะนำไปเปลี่ยนแทนที่ แล้วกด Ctrl+C เพื่อcopy


และกด Ctrl+V เพื่อวางในช่องตัวอักษรนั้น ขยับขยาย และปรับให้ขนาดใกล้เคียงตัวเก่าให้มากที่สุด


แทนที่ในตำแหน่งเดิมทำตามขั้นตอนนี่้ไปเรื่อยๆจนครบทุกตัวอักษรตามชุดที่ทำมา
ปล.อย่าลืม SAVE เป็นระยะๆเพื่อความปลอดภัยของงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น